ข่าวไอที

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
          ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน สายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงใน ปัจจุบัน      
          Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง      
          การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่ง ข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วย เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก
      
          ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
          จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always o­n) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีก ต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน
      
          การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่อกลางอื่นๆ
          นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศ ได้ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีของประชาชนในประเทศที่มีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและ เป็นการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย อีกประการ
          เทคโนโลยีไร้สายกำลังมาแรง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่สร้างความรุ่งเรืองในวงการโทรคมนาคมสลับกับ เทคโนโลยีผ่านสายอันเป็นวฎจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย โดยเริ่มเกิดความนิยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายซึ่งมีความสะดวกสบายจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
      
          นอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก
      
          นอกจากนี้ในอนาคนอันใกล้เราอาจได้ยินคำว่า WISP หรือ Wireless ISP นั่นเองซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็น สิบๆ กิโลเมตรเลยทีเดียว
      
          สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต (Market Structure)
          ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน สภาพตลาดบริการโดยรวมมีจำนวนผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ อินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ามีระดับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการจำนวนมากใกล้เคียงลักษณะตลาดแบบ Perfect Competition ในอุดมคติและจำนวนผู้ใช้บริการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อดีตถึงปัจจุบัน
          ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

          - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
          - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
          - สายโทรศัพท์ทองแดง 

          โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป          นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
         
หลัง จากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
         
ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
         
นอก จากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
         
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
         
เครือ ข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"
         
หลัง จากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
ThaiSarn
          ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)          และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 ฅ         AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร 
Internet Connectivities in Thailand

         
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2550
          บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุก วัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน

      
          การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

          ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 2540 เปลี่ยนรูปกิจการเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และได้รับสิทธิ์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์อีกเป็นครั้งที่สอง และเมื่อ พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย      
          จนกระทั่งได้มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทร คมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นและบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมให้เกิด ประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ของ กทช. ที่ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติให้ กทช. ต้องดำเนินการเปิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย ภายในเวลาสองปีตั้งแต่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่มา เนื่องจาก กทช. ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและผู้ประกอบ การเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกมาก ทำให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ทุกรายในประเทศสามารถพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้สูงที่สุดได้และมีราคาถูกที่ สุดได้ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนเป็นหลัก  

มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็น บริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือ ข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับ ผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรม ที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

โดเมนเนม(Doman Name )

โดเมนเนมในอินเตอร์เน็ต          ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ
          เช่นเว็บไซต์ของเนคเทค มีหมายเลข IP คือ 202.44.204.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.nectec.or.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเอง
          ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server
          ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"

รูปแบบชื่อโดเมน
          รูปแบบการตั้งชื่อของ Domain ตามหลักการของ Internet มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
  • โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
    • รูป แบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains: gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, .net, .gov
    • รูป แบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ (Country Code Top Level Domains: ccTLDs) เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน หรือที่ตั้งของโดเมน มักจะใช้กับประเทศอื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึงโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงโดเมนของประเทศญี่ปุ่น
  • โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain
  • โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain
ตารางแสดง Top Level Domain
.comcommercial
.netservice provider
.orgnonprofit organization
.edueducational institution
.govUnited States government
.milUnited States military
 
.acAscension Island
.adAndorra
.aeUnited Arab Emirates
.afAfghanistan
.agAntigua and Barbuda
.aiAnguilla
.alAlbania
.amArmenia
.anNetherlands Antilles
.aoAngola
.aqAntarctica
.arArgentina
.asAmerican Samoa
.atAustria
.auAustralia
.awAruba
.azAzerbaijan
.baBosnia and Herzegovina
.bbBarbados
.bdBangladesh
.beBelgium
.bfBurkina Faso
.bgBulgaria
.bhBahrain
.biBurundi
.bjBenin
.bmBermuda
.bnBrunei Darussalam
.boBolivia
.brBrazil
.bsBahamas
.btBhutan
.bvBouvet Island
.bwBotswana
.byBelarus
.bzBelize
.caCanada
.ccCocos (Keeling) Islands
.cdCongo, Democratic People's Republic
.cfCentral African Republic
.cgCongo, Republic of
.chSwitzerland
.ciCôte d'Ivoire
.ckCook Islands
.clChile
.cmCameroon
.cnChina
.coColombia
.crCosta Rica
.cuCuba
.cvCape Verde
.cxChristmas Island
.cyCyprus
.czCzech Republic
.deGermany
.djDjibouti
.dkDenmark
.dmDominica
.doDominican Republic
.dzAlgeria
.ecEcuador
.eeEstonia
.egEgypt
.ehWestern Sahara
.erEritrea
.esSpain
.etEthiopia
.fiFinland
.fjFiji
.fkFalkland Islands (Malvinas)
.fmMicronesia, Federal State of
.foFaroe Islands
.frFrance
.gaGabon
.gdGrenada
.geGeorgia
.gfFrench Guiana
.ggGuernsey
.ghGhana
.giGibraltar
.glGreenland
.gmGambia
.gnGuinea
.gpGuadeloupe
.gqEquatorial Guinea
.grGreece
.gsSouth Georgia and the South Sandwich Islands
.gtGuatemala
.guGuam
.gwGuinea-Bissau
.gyGuyana
.hkHong Kong
.hmHeard and McDonald Islands
.hnHonduras
.hrCroatia/Hrvatska
.htHaiti
.huHungary
.idIndonesia
.ieIreland
.ilIsrael
.imIsle of Man
.inIndia
.ioBritish Indian Ocean Territory
.iqIraq
.irIran (Islamic Republic of)
.isIceland
.itItaly
.jeJersey
.jmJamaica
.joJordan
.jpJapan
.keKenya
.kgKyrgyzstan
.khCambodia
.kiKiribati
.kmComoros
.knSaint Kitts and Nevis
.kpKorea, Democratic People's Republic
.krKorea, Republic of
.kwKuwait
.kyCayman Islands
.kzKazakhstan
.laLao People's Democratic Republic
.lbLebanon
.lcSaint Lucia
.liLiechtenstein
.lkSri Lanka
.lrLiberia
.lsLesotho
.ltLituania
.luLuxemborg
.lvLatvia
.lyLibyan Arab Jamahiriya
.maMorocco
.mcMonaco
.mdMoldova, Republic of
.mgMadagascar
.mhMarshall Islands
.mkMacedonia, Former Yugoslav Republic
.mlMali
.mmMyanmar
.mnMongolia
.moMacau
.mpNorther Mariana Islands
.mqMartinique
.mrMauritania
.msMontserrat
.mtMalta
.muMauritius
.mvMaldives
.mwMalawi
.mxMexico
.myMalaysia
.mzMozambique
.naNamibia
.ncNew Caledonia
.neNiger
.nfNorfolk Island
.ngNigeria
.niNicaragua
.nlNetherlands
.noNorway
.npNepal
.nrNauru
.nuNiue
.nzNew Zealand
.omOman
.paPanama
.pePeru
.pfFrench Polynesia
.pgPapua New Guinea
.phPhilippines
.pkPakistan
.plPoland
.pmSt. Pierre and Miquelon
.pnPitcairn Island
.prPuerto Rico
.psPalestinian Territories
.ptPortugal
.pwPalau
.pyParaguay
.qaQatar
.reReunion Island
.roRomania
.ruRussian Federation
.rwRwanda
.saSaudi Arabia
.sbSolomon Islands
.scSeychelles
.sdSudan
.seSweden
.sgSingapore
.shSt. Helena
.siSlovenia
.sjSvalbard and Jan Mayen Islands
.skSlovak Republic
.slSierra Leone
.smSan Marino
.snSenegal
.soSomalia
.srSuriname
.stSao Tome and Principe
.svEl Salvador
.sySyrian Arab Republic
.szSwaziland
.tcTurks and Ciacos Islands
.tdChad
.tfFrench Southern Territories
.tgTogo
.thThailand
.tjTajikistan
.tkTokelau
.tmTurkmenistan
.tnTunisia
.toTonga
.tpEast Timor
.trTurkey
.ttTrinidad and Tobago
.tvTuvalu
.twTaiwan
.tzTanzania
.uaUkraine
.ugUganda
.ukUnited Kingdom
.umU.S. Minor Outlying Islands
.usUnited States
.uyUruguay
.uzUzbekistan
.vaHoly See (City Vatican State)
.vcSaint Vincent and the Grenadines
.veVenezuela
.vgVirgin Islands (British)
.viVirgin Islands (USA)
.vnVietnam
.vuVanautu
.wfWallace and Futuna Islands
.wsWestern Samoa
.yeYemen
.ytMayotte
.yuYugoslavia
.zaSouth Africa
.zmZambia
.zrZaire
.zwZimbabwe